ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์
มนุษย์ได้ให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์มาตั้งแต่เริ่มต้นอารยธรรม
ดังจะเห็นได้ว่าจากการสร้างปฏิทิน การทำนายฤดูการเพาะปลูก
การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์ถูกนำมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในชีวิต สังคม หรือ
ธรรมชาติรอบข้าง ในกรณีก็เป็นการเชื่อมโยงที่มีความเกี่ยวพันกับธรรมชาติจริงๆ เช่น
การทำนายเวลาน้ำขึ้นน้ำลง แต่จำนวนไม่น้อยที่เป็นเพียงการเชื่อมโยงตามความเชื่อ
เช่น อุปราคาเป็นลางบอกเหตุแห่งหายนะ
หรือการบูชาในคืนวันเพ็ญจะได้กุศลมากกว่าวันอื่นๆ
ผู้เขียนได้กล่าวถึงลักษณะทางกายภาพของดวงจันทร์ไปแล้วในบทระบบสุริยะ (หน้า 107-108) อย่างไรก็ตาม
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์
และการสังเกตดวงจันทร์มีรายละเอียดที่หน้าสนใจหลายประการ ผู้เขียนจึงแยกมากล่าวถึง
ได้แก่ เฟสของดวงจันทร์ ปรากฏการณ์สุริยุปราคา
ปรากฏการณ์จันทรุปราคา ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง และปรากฏการณ์แสงโลก
เฟสและการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์
แสงจันทร์สว่างเย็นตาที่เราได้เห็นจากโลก
คือ แสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวของดวงจันทร์ในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
ลักษณะปรากฏของดวงจันทร์จึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามมุมระหว่างโลก ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์เรียกว่า เฟสของดวงจันทร์ (Lunar Phase) หรือวิถีของดวงจันทร์
ชาวไทยสังเกตเฟสของดวงจันทร์มาตั้งแต่โบราณ
สังเกตได้จากการสร้างปฏิทินขึ้นโดยอ้างอิงกับดวงจันทร์ เช่น เดือนเพ็ญ (Full Moon; ขึ้น
15 ค่ำ หือ เฟส 100 เปอร์เซ็นต์ ) และเดือนมืด (New
Moon; แรม 15 ค่ำ หรือ เฟส
0 เปอร์เซ็นต์) และได้ตั้งขอสังเกตอีกว่าในช่วงข้างขึ้น
ด้านสว่างของดวงจันทร์จะหันไปทางทิศตะวันตก และในช่วงข้างแรม
ด้านสว่างของดวงจันทร์จะหันไปทางทิศตะวันออกเสมอ
ข้อสังเกตนี้ช่วยให้คนโบราณสามารถสังเกตเฟสของดวงจันทร์เพื่อใช่หาทิศได้อย่างดี
ปรากฏการณ์แสงโลก
เหตุใดด้านสว่างของดวงจันทร์จึงหันไปทางตะวันตกในช่วงข้างขึ้นและหันไปทางตะวันออกในช่วงข้างแรม
ในช่วงข้างขึ้นดวงจันทร์จะปรากฏอยู่ทางตะวันออกของดวงอาทิตย์เมื่อโลกหมุนไป
ดวงอาทิตย์จึงตกลับขอบฟ้าไปก่อนดวงจันทร์
เราจึงเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันตกในช่วงค่ำ โดยด้านสว่างของดวงจันทร์ คือ
แสงที่สะท้อนมาจากดวงอาทิตย์ที่ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว
ด้านสว่างของดวงจันทร์จึงหันไปทางทิศตะวันตก
ในช่วงข้างแรมดวงจันทร์จะปรากฏอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์เมื่อโลกหมุนไปดวงจันทร์จึงขึ้นจากขอบฟ้าของผู้สังเกตก่อนดวงอาทิตย์
เราจึงจะเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกในช่วงเช้าโดยด้านสว่างของดวงจันทร์จึงขึ้นจากขอบฟ้าของผู้สังเกตก่อนดวงอาทิตย์
เราจึงเห็นดวงจันทร์ทางทิศตะวันออกในช่วงเช้าโดยด้านสว่างของดวงจันทร์ คือ
แสงที่สะท้อนมาจากดวงอาทิตย์ที่ยังไม่ขึ้นจากขอบฟ้า ด้านสว่างของดวงจันทร์จึงหันไป
การโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ทำให้ดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกของทรงกลมท้องฟ้าวันละ
13 องศา เมื่อเทียบกับดวงฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง
ดังนั้นในแต่ละวันดวงจันทร์จะขึ้นจากขอบฟ้าช้าขึ้นประมาณ 50 องศา เช่น
หากวันนี้ดวงจันทร์ขึ้นเวลา 12.00 นาฬิกา
เราสามารถประมาณได้ว่าวันพรุ่งนี้ดวงจันทร์จะขึ้นในเวลาประมาณ 20.50 นาฬิกา
หนึ่งเดือนเท่ากับกี่วัน
ระยะเวลา “หนึ่งเดือน” สามารถอ้างอิงได้หลายแบบ
คือ 1. เดือนตามปฏิทิน 2. เดือนดาราคติ และ 3. เดือนจันทรคติ
เวลาหนึ่งเดือนตามปฏิทิน (Calendar
Month) คือ ระยะเวลาหนึ่งเดือนที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย ซึ่งเป็นเวลา 30
หรือ 31 วัน (28 หรือ 29 วันในเดือนกุมภาพันธ์)
อย่างไรก็ตาม
ระยะเวลาหนึ่งเดือนตามปฏิทินนั้นไม่ตรงกับเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบรอบ
ซึ่งอ้างอิงโดยการเทียบตำแหน่งของดวงจันทร์กับดาวฤกษ์ฉากหลังที่อยู่ไกลออกไป
เมื่อดวงจันทร์โคจรจากตำแหน่งที่จุด A ไปยังตำแหน่งที่จุ B
ในภาพด้านล่าง ภาพของดวงจันทร์จะปรากฏอยู่ ณ
ตำแหน่งเดิมเทียบกับดาวฤกษ์ฉากหลัง ระยะเวลานี้จึงเรียกว่า เดือนดาราคติ (Sidereal Month) หรือ
*เดือนอ้างอิงโดยดวงดาว* คิดเป็นระยะเวลา 27.322 วัน
อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก โลกก็โคจรไปรอบดวงอาทิตย์เช่นกัน
เมื่อดวงจันทร์โคจรรอบโลกครบรอบ มุมระหว่างโลก ดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เฟสของดวงจันทร์จึงยังไม่ปรากฏเช่นเดิมดวงจันทร์จะต้องโคจรไปอีกเล็กน้อย
(จากจุด B ไปยังจุด C ) จึงปรากฏเฟสเดียวตำแหน่ง A ช่วงเวลาจากการที่ดวงจันทร์เฟสไดๆ
ไปจนถึงการปรากฏเฟสนั้นๆ ครั้งต่อไป (เช่น
ในภาพด้านล่างคือระยะเวลาจากเดือนมืดถึงเดือนมือครั้งต่อไป) เรียกว่า
เดือนจันทรคติ (Synodic Month) หรือ
*เดือนอ้างอิงโดยเฟสของดวงจันทร์* คิดเป็นระยะเวลา 29.531 วัน
ดวงจันทร์หันซีกเดียวของผิวโลกเสมอ
เพราะดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองในเวลาเท่ากับที่ใช้โคจรรอบโลกพอดี
เราเรียนด้านที่ดวงจันทร์หันเข้าหาโลกว่า ด้านใกล้ (Near Side) และหันหน้าออกโลกว่า ด้านไกล (Far Side) อย่างไรก็ตาม
เราไม่ควรสับสนกับคำว่า “ด้านมืด” หรือ
“ด้านสว่าง” ของดวงจันทร์ เนื่องจากไม่มีด้านใดของดวงจันทร์ที่มืดหรือสว่างอย่างถาวร
ดวงจันทร์ทั้งดวงได้รับแสงจากดวงอาทิตย์เท่าๆกัน ตลอกเวลาที่โคจรรอบโลก
เพียงแต่ผู้สังเกตบนโลกไม่สามารถมองเห็นอีกด้านหนึ่งของดวงจันทร์ได้เท่านั้น
เฟสของดวงจันทร์
และการทำนายฤดูการเพาะปลูกของชาวแอฟริกากลาง
ชาวแอฟริกากลางตั้งแต่หลายพันปีก่อนคริสตกาล
ได้ทำนายฤดูเพาะปลูกจากการสังเกตมุมที่เฟสของดวงจันทร์เสี้ยวเอียงจากแนวขอบฟ้าซึ่งเปลี่ยนไปเรื่อยๆตลอดปี
นับเป็นความบังเอิญอย่างยิ่งที่เฟสของดวงจันทร์จะทำมุมราบลงถึง 0 องศา กับขอบฟ้าในช่วงฤดูฝนพอดี
(สังเกตกราฟปริมาณน้ำฝนและมุมที่เฟสของดวงจันทร์ทำกับขอบฟ้าจากภาพด้านบน)
ทำให้ชาวแอฟริกากลางโบราณที่ยังไม่มีระบบปฏิทินบอกเวลา
สามารถเริ่มเตรียมการเพาะปลูกได้โดยสังเกตจากมุมเฟสของดวงจันทร์ที่ทำมุมชันที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมและราบลงเรื่อยๆเมื่อเข้าฤดูฝน
อุปราคา
ปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก
และดวงจันทร์เรียงตัวอยู่ในเส้นตรงเดียวกันเรียกว่า อุปราคา (Eclipse) ซึ่งเกิดขึ้นได้
2 ลักษณะ คือ สุริยุปราคา และ จันทรุปราคา (Lunar Eclipse)
สุริยุปราคา (Solar Eclipse)
คือ
ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ ณ ตำแหน่งระหว่างโลกและดวงอาทิตย์
ซึ่งผู้สังเกตในบริเวณเล็กๆ
บนผิวโลกในส่วนที่เงาของดวงจันทร์ทอดผ่านจะเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้หมดดวงเรียกว่า
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar
Eclipse) การบังนี้เกิดขึ้นได้แม้ว่าดวงจันทร์จะมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ถึง
400 เท่า เนื่องจากดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ 400 เท่าเช่นกัน
ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์บนท้องฟ้าจึงมีขนาดเท่ากันพอดี
ในขณะที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง บรรยากาศชั้นโพโตรเฟียร์
จะถูกบดบังโลกทั้งหมดทำให้สามารถสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ในบรรยากาศชั้นโครเฟียร์และบรรยากาศชั้นโคโรนาได้
ในสถาวะปกติเราจะไม่สามารถสังเกตบรรยากาศสองชั้นนี้ได้เลยเนื่องจากทั้งสองมีแสงสว่างน้อยมากเมื่อเทียบกับชั้นโฟโตรเฟียร์
แต่ขณะปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
บรรยากาศชั้นโคโรนาจะปรากฏเป็นรัศมีสีงาช้างอยู่โดยรอบของวงกลม
สีดำสนิดของดวงจันทร์
อันเป็นปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่งดงามและน่าตื่นตาตื่นใจที่สุดปรากฏการณ์หนึ่งที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
ภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
สังเกตลักษณะของโคโรนาและเปลวสุริยะขนาดเล็กด้านบนของภาพ
ภาพปรากฏการณ์แหวนเพชร (Diamond Ring
Effect) จะเกิดขึ้นในเวลาเสี้ยววินาทีก่อนเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่แสงเสี้ยวสุดท้ายจากดวงอาทิตย์ลอดผ่านหลุมอุกกาบาตลึกบนผิวดวงจันทร์มายังโลก
ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บังทั้งดวง
ในกรณีที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกออกไปมากกว่า 1 ใน 400
เท่าของระยะห่างจากโลกและดวงอาทิตย์ (ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรีที่มีความรีน้อยๆ
แต่มิใช่วงกลมเสียทีเดียว
จึงมีการเปลี่ยนแปลงระยะห่างในวงโคจรเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา) ภาพของดวงจันทร์เจเล็กเกินกว่าที่จะบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งดวงแม้ว่าตำแหน่งจะมาซ้อนทับกันพอดี
จึงเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse) ซึ่งจะเห็นภาพขอบของดวงอาทิตย์ที่ดวงจันทร์บังไม่มิดเป็นวงแหวนบาง
แต่แสงจากส่วนวงแหวนบางนี้ก็ยังสว่างจนบดบังบรรยากาศชั้นบรรยากาศอื่นๆไปหมด ทำให้มีโอกาสย้อยมากที่จะสังเกตบรรยากาศชั้นโครโมสเฟียร์หรือโคโรนาได้
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน
ภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน
เกิดจากการที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าที่จะสามารถบังดวงอาทิตย์พอดี
ขอบของดวงอาทิตย์จึงปรากฏให้เห็นได้รอบข้าง
ในภาพด้านซ้าย ดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ภูเขาสูงบนดวงจันทร์จึงสามารถบังแสงอาทิตย์ได้บางส่วน (ทำให้วงแหวนขาดเป็นช่วงๆ)
ผู้สังเกตที่อยู่นอกแนวที่เงามืดของดวงจันท์ทอดผ่านจะเห็นดวงอาทิยร์ถูกบดบางไปบางส่วนเรียกว่าปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน
(Partial Solar Eclipse) ซึ่งจะเห็นดวงอาทิตย์เป็นเสี้ยวเว้าแหว่งไป
ดังเช่นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1995 (พ.ศ.2538) ขณะที่เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงพาดผ่านภาคกลางและส่วนหนึ่งของภาคอีสาน
กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ทางใต้ของแนวเงามืดของดวงจันทร์ประมาณ 100
กิโลเมตรจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังไปประมาณ 96.1 เปอร์เซ็นต์
และจังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ที่อยู่ห่างจากแนวเงามืดออกไปจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังไปน้อยกว่ากรุงเทพ
เช่น จังหวัดชุมพร (85.2 เปอร์เซ็นต์) หรือ
จังหวัดนราธิวาส (77.7 เปอร์เซ็นต์)
การเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาส่วนใหญ่
เงามืดของดวงจันทร์จะไม่ทอดลงบนโลกพอดี
ผู้สังเกตบนโลกจึงสังเกตได้เพียงปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนเท่านั้น ดังนั้น
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนจึงมีโอกาสเกิดได้บ่อยกว่าปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบอื่นๆมาก
สุริยุปราคาบางส่วน
ภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบังดวงอาทิตย์มากที่สุดถึงจุดหนึ่งและเคลื่อนออก
ความ ”ลึก” ของการบังสามารถวัดได้เป็นค่าร้อยละของรัศมีของดวงอาทิตย์ที่จุดศูนย์กลางของภาพดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบังมากที่สุด
ภาพแถวบนเป็นภาพขณะที่ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนเข้าบัง
และภาพแถวล่างเป็นภาพขณะที่ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนที่ออก
จันทรุปราคา (Lunar Eclipse) คือ
ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ในเงาของโลก หรืออยู่ “หลัง” โลก เมื่อมองจากดวงอาทิตย์
ผู้สังเกตบนโลกจึงเห็นดวงจันทร์ค่อยๆ หายลับไปในส่วนโค้งของเงาของดลกจนหมดดวง
การสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคาช่วยให้อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีสในช่วงปี 384-322
ก่อนคริสตกาล สรุปได้ว่าโลกมีลักษณะเป็นทรงกลม มิใช่เป็นแผ่นตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ
เพราะหากโลกมีลักษณะเป็นแผ่นจริง
เงาของโลกที่บังดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาจะต้องปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่างอื่นๆ
นอกจากวงกลมเป็นครั้งคราว (เช่น เป็นแผ่นบาง)
ดวงจันทร์ในเงามืดของโลก
ภาพถ่ายชุดการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
สังเกตขนาดของเงาของโลกที่ทอดไปในอวกาศเปรียบเทียบกับดวงจันทร์
ปรากกการณ์จันทรุปราคามักเกิดขึ้นนานนับชั่วโมงเพราะเงาของโลกมีขนาดใหญ่มาก
ต่างจากปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่เกิดขึ้นได้นานที่สุดเพียง 7 นาที 31
วินาที และสุริยุปราคาวงแหวนซึ่งเกิดได้นานที่สุด 12 นาที 30 วินาทีเท่านั้น
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง (Tides) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์
ที่กระทำต่อบริเวณต่างๆ ของโลกไม่เท่ากัน
ทำให้น้ำบนผิวโลกในบริเวณที่อยู่ในแนวเดียวกับดวงจันทร์ “โป่ง”
ออกจากผิวโลก
จากปรากฏการณ์แรงโน้มถ่วงของนิวตัน
แรงโน้มถ่วงจะลดน้อยลงตามปัจจัยระยะห่างหำลังสอง เช่น
หากเดินทางออกห่างจากดวงจันทร์ 2 เท่าของระยะห่างเดิม
แรงโน้มถ่วงที่ได้รับจากดวงจันทร์จะลดลง 4 เท่า (เหลือ 1 ใน 4 ของแรงที่ระยะเดิม) การที่แรงโน้มถ่วงลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อระยะห่างเพิ่มขึ้นทำให้แรงโน้มถ่วงที่ได้รับจากดวงจันทร์จากคนละซีกของโลก
(ห่างกันประมาณ 12.000 กิโลเมตร) ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ความแตกต่างของแรงนี้ทำให้น้ำบนผิวโลกบริเวณที่ใกล้ดวงจันทร์มากที่สุดถูกดึงให้โป่งออกจากผิวโลก
(จุดAในภาพด้านล่าง) ในขณะเดียวกันน้ำ ณ บริเวณตรงข้าม (จุดB) ก็โป่งออก เช่นกัน เพราะไม่สามารถ “ตาม” โลกที่ถูกดูดไปด้วยแรงมากกว่าได้
แรงกระทำเนื่องจากโน้มถ่วงของดวงจันทร์ที่ระยะห่างต่างๆบนโลก
ลูกศรในภาพแสดงขนาดและทิศทางของแรงกระทำเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์
(ภาพจำลองใช้ขนาดเกินกว่าความจริงเพื่อให้เห็นได้ชัดเจน)
ตำแหน่ง A และตำแหน่ง B อยู่ห่างกัน
12.000 กิโลเมตร แรงจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัดเป็นที่มาของปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
การโป่งของน้ำทั้งสองบริเวณ ทำให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณ A และ B สังเกตเห็นน้ำขึ้น
ในขณะที่ผู้อยู่ในจุด C และ D จะสังเกตเห็นน้ำลง
(เส้นประ คือ ระดับน้ำทะเลปานกลาง)
การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้บริเวณที่อยู่ในแนวเดียวกับดวงจันทร์ผลัดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
เช่น จุด C และ D จะเลื่อนมาอยู่ในแนวดวงจันทร์ในเวลา
6 ชั้วโมงต่อมา ดังนั้น ตำบลใดๆ บนโลกจึงเคลื่อนที่ผ่านแนวระหว่างดวงจันทร์และโลกวันละ
2 ครั้งเสมอ (ครั้งแรกที่ด้านใกล้และครั้งต่อมาที่ด้านไกล)
ทกให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุดวันละ 2 ครั้ง
โดยเวลาที่น้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุดจะช้าไปวันละประมาณ 50 นาที
เช่นเดียวกับเวลาจันทร์ขึ้นจากขอบฟ้า
แรงไทดอล
แรงไทดอล (Tidl Force) คือ
แรงเสมือนที่เกิดจากความต่างของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อบริเวณต่างๆของวัตถุไม่เท่าเทียมกัน
(ตัวอย่างในภาพหน้า 186) ตัวอย่างที่สุดของแรงไทดอล
คือ ปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง
ซึ่งเป็นแรงไทดอลที่เกิดจากความแตกต่างของแรงโน้มถ่วงจากดวงจันทร์ “ดึง” น้ำและโลกไม่เท่ากัน
ในกรณีที่วัตถุที่ออกแรงโน้มถ่วงมีขนาดใหญ่มาก แรงไทดอลจะรุนแรงมากขึ้นด้วย
เช่น กลไกความร้อนไทดอล (Tidal Heating) บนดวงจันทร์ไอโอของดวงพฤหัสบดี
(หน้า126) ซึ่งเกิดจากที่แต่ละด้านของดวงจันทร์ไอโอได้รับแรงโน้มถ่วงจากดาวพฤหัสบดีต่างกันมาก
ทกให้ภายในของดวงจันทร์ไอโอเกิดการบิดเบี้ยวและเสียดสีกันจนมีความร้อนเกิดขึ้น
หากดวงจันทร์ไอโอโคจรเข้าไกลดาวพฤหัสบดีอีกเล็กน้อย แรงไทดอลจะไม่เพียงทำให้การบิดเบี้ยว
แต่จะฉีกดวงจันทร์ไอโอออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
นักดาราศาสตร์เชื่อว่าวงแหวนของดาวเสาร์เกิดขึ้นจากกระบวนการนี้
ตัวอย่างของปรากฏการณ์จากแรงไทดอลที่น่าสนใจอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ
แรงไทดอลที่บริเวณใกล้กับหลุมดำยักษ์ในแก่นดาราจักรกัมมันตะ (หน้า 287) ซึ่งฉีกดาวฤกษ์ออกธารพลาสมาไหลวนสู่หลุมดำ
ปรากฏการณ์แสงโลก
หากมองดูดวงจันทร์ในวันที่ดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบาง (เช่น ในวันขึ้น 1 – 3 ค่ำ หรือ แรม 12 -14 ค่ำ)
เราจะเห็นแสงเรื่อๆ จากด้านมืด (ด้านกลางคืน)
ของดวงจันทร์ แสงนี้ไม่ใช่แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง
เพราะด้านกลางคืนของดวงจันทร์ย่อมไม่มีแสงอาทิตย์ส่องสว่าง
แต่เป็นแสงของดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวโลกไปยังดวงจันทร์และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่งเรียกว่า
แสงโลก (Earthshine)
การเกิดปรากฏการณ์แสงโลก
ปรากฏการณ์แสงโลกเกิดจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนกับผิวโลกไปยังดวงจันทร์
และสะท้อนกลับมายังผู้สังเกตบนโลกอีกต่อหนึ่ง ทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นแสงจางๆ
จากด้านกลางคืนของดวงจันทร์
แสงนี้มีการบันทึกและอธิบายสาเหตุไว้เป็นครั้งแรกโดย ลีโอนาโด ดา วินซี (Leonardo do Vinci) ศิลปินและนักระดิษฐ์ชาวอิตาลีในช่วงปี
ค.ศ. 1506-1510
เนื้อหาสาระดีมาก น่าสนใจ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจค่ะ
ตอบลบสาระดีมาก
ตอบลบเนื้อหาดีมาก
ตอบลบเนื้อหาแน่นค่ะ
ตอบลบดีอ้าาา
ตอบลบเนื้อหาดีมากเลย
ตอบลบ